จากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ประชุมเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน โดยมีการแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ การเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง, สิทธิ ลาคลอดบุตร, สิทธิวันลากิจ และกรณีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง
แม่ท้องเฮ! สนช.ผ่านกฎหมายเพิ่มวัน “ลาคลอดบุตร” เป็น 98 วัน
ข่าวดีสำหรับแม่ท้องที่เป็นลูกจ้าง! ตามที่ได้มีข่าวว่า กรมสวัสดิการและกรมคุ้มครองแรงงาน ได้เสนอให้มีการแก้กฎหมาย ปรับเพิ่มสิทธิวันลาคลอดบุตร เป็น 98 วัน จากเดิมที่กำหนดให้สามารถลาคลอดบุตรได้เพียง 90 วัน และวันลาคลอดบุตรที่ได้เพิ่มมานี้ ยังไม่นำไปนับรวมกับวันลาฝากครรภ์ หรือวันลาเพื่อตรวจครรภ์อีกด้วย โดยกฎหมายคุ้มครองแรงงานนี้ สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์ ระหว่างและหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด 14 สัปดาห์ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขวัน ลาคลอดบุตร ดังต่อไปนี้
สิทธิในการ ลาคลอดบุตร
- เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน
- โดยสิทธิในการลาคลอดบุตรนี้ ไม่นับรวมกับการลาฝากครรภ์ หรือหรือลาเพื่อตรวจครรภ์
- แต่ในช่วงระยะที่ลาคลอดบุตร 98 วันนั้น ให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย
- สำหรับเงินชดเชย ที่แต่เดิม ลูกจ้างที่ได้รับสิทธในการลาคลอดบุตร 90 วันนั้น จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และจากประกันสังคมอีก 45 วัน (ร้อยละ 50 ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง) แต่เมื่อเพิ่มวันลาคลอดบุตรเป็น 98 วัน สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ สิทธิอื่น ๆ ที่มีการแก้กฎหมายพร้อมกับสิทธิ ลาคลอดบุตร
สิทธิอื่น ๆ ที่มีการแก้กฎหมายพร้อมกับสิทธิ ลาคลอดบุตร
เงินค่าชดเชยเลิกจ้าง
เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้ค่าชดเชยอัตราเพิ่มเป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน ทั้งนี้ จะทำให้หลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้
- ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
- ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
- เมื่อทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
- ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
- และทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน
สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัตรใจ
กรณีลากิจ
ให้เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างสามารถลากิจธุระอันเป็นจำเป็น ได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยที่ยังได้รับค่าจ้างตามปกติ
กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง
กรณีที่นายจ้างเปลี่ยนตัวนายจ้างหรือนิติบุคคล ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้กับลูกจ้าง ซึ่งตามกฎหมายเดิมนั้นลูกจ้างต้องไปฟ้องศาลเอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากสิทธิ ลาคลอดบุตร ที่แม่ท้องจะได้รับเมื่อตั้งครรภ์
สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากสิทธิ ลาคลอดบุตร ที่แม่ท้องจะได้รับเมื่อตั้งครรภ์
ค่าคลอดบุตร
คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้จากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง มีลูกกี่คนก็เบิกได้ทุกคน) แต่ผู้ประกันตนนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร (ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน หมายถึง การนับย้อนหลังกลับไป 15 เดือน หรือ 1 ปี 3 เดือน คุณแม่ต้องมีเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 เดือน ถ้าสมทบมาน้อยกว่า 5 เดือน คุณแม่จะไม่มีสิทธิ์ในการขอค่าคลอดบุตร) ในกรณีที่สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง เบิกค่าคลอดประกันสังคม พร้อมขั้นตอนการยื่น
เงินสงเคราะห์บุตร
คุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์นี้จะต้องจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์จะได้รับประโยชน์ทดแทน โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแบบเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน โดยอายุของบุตรที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ในจำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน โดยเงินสงเคราะห์บุตรจะใช้ได้สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบุตรของตนแท้ ๆ เท่านั้น (ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งผู้ประกันตนได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
บทความที่น่าสนใจ เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม จาก 400 เป็น 600
ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนจะกลายเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปจนครบ 6 ปีบริบูรณ์
สำหรับการแก้ไขร่างกฎหมายในครั้งนี้ สนช. ได้ผ่านพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับนี้ เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้อีก 30 วัน และสำหรับหลาย ๆ คน อาจมองว่าได้วัน ลาคลอดบุตร เพิ่มขึ้นมาแค่ 8 วันเอง แต่อย่าลืมนะคะว่าสำหรับคุณแม่หลังคลอดแล้ว แค่ได้อยู่กับลูกเพิ่มอีกไม่กี่วันก็มีความหมายมากแล้วค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
แม่ท้องรับเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้
แม่หมดห่วง 5 โรคหน้าฝน ใช้สิทธิประกันสังคม ป่วยรักษาฟรี
มาแล้ว! ฤกษ์คลอดบุตร 2562 ฤกษ์ดี ๆ มีให้เลือกตลอดทั้งปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : news.mthai.com, สำนักงานประกันสังคม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่