เอกสารลูกและเอกสารสำคัญต่าง ๆ หากหายขึ้นมา จำเป็นต้องไปแจ้งความไหม? คำตอบคือ มีทั้งที่ต้องแจ้งความและไม่ต้องแจ้งความค่ะ ทีมงานจึงขอรวบรวม 9 เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! มาให้แม่ ๆ ได้เตรียมตัวหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น
เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! พร้อมขั้นตอนการยื่นเรื่องทำใหม่
เชื่อว่าหลายคนมีปัญหาและกังวลกับเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน สูติบัตร ใบขับขี่ หรือบัตรรับรองสิทธิต่าง ๆ ที่ออกโดยราชการ แล้วเกิดหายขึ้นมา อันดับแรกที่คิดคือ ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และต้องเสียเวลาไปทำใหม่อีก ปัญหาดังกล่าวมีทางออกแล้ว โดยหากเอกสารเหล่านี้หาย ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความค่ะ สามารถทำเรื่องของเอกสารใหม่ได้เลย
-
บัตรประชาชนหาย
ให้ผู้ที่บัตรประชาชนหายไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย โดยให้นำเอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง มาดำเนินการยืนยันตนเอง หากไม่มีให้พาเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองตนเอง(ผู้ที่จะรับรองจะต้องมีอายุ 20 ปีขี้นไป และมีบัตรประชาชน ซึ่งกรณีบัตรประชาชนหายจะต้องยืนคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่หาย และมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท โดยสามารถยื่นเรื่องทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานเขตและอำเภอในพื้นที่ที่สะดวก
2. สูติบัตรลูกหาย
ให้คุณพ่อคุณแม่ไปติดต่อเพื่อขอคัดสำเนาและรับรองสำเนา โดยให้ไปแจ้งที่อำเภอที่คุณพ่อคุณแม่ได้ไปแจ้งเกิดไว้ เพราะจะยังมีต้นขั้วอยู่ เมื่อขอคัดสำเนาเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้อง แต่หากทางอำเภอไม่มีต้นขั้วเนื่องจากหาย ชำรุดหรือลูกเกิดในท้องที่ต่างถิ่น กรณีดังกล่าวนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ติดต่ออำเภอเพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองการเกิดแทนสูติบัตร โดยสามารถขอได้ที่อำเภอที่ลูกมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือที่อำเภอที่ลูกเกิด และจะต้องมีพยานบุคคล 2 คน และหลักฐาน ดังนี้
-
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประชาชน
- วุฒิการศึกษา ฯลฯ
อ่านต่อ แม่ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อ สูติบัตรลูกหาย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! พร้อมขั้นตอนการยื่นเรื่องทำใหม่
เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! พร้อมขั้นตอนการยื่นเรื่องทำใหม่
3. ทะเบียนบ้านหาย
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าบ้านไปดำเนินการทำใหม่ได้เลย โดยสามารถยืนคำร้องได้ฝ่ายทะเบียนตามหลักฐานทางทะเบียนบ้าน เอกสารหลักฐานที่จะต้องใช้ ได้แก่
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท
4. แผ่นป้ายทะเบียนรถหาย
สามารถแจ้งขอรับแผ่นป้ายทดแทนได้ ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ส่วนรถที่จดทะเบียนต่างจังหวัดติดต่อ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รับผิดชอบ โดยต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการเอง)
กรณีรถติดไฟแนนซ์ สำหรับผู้เช่าซื้อ หรือ ผู้ครอบครองรถที่ต้องการดำเนินการด้วยตนเอง ต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เช่าซื้อ
- หนังสือรับรองจากบริษัทไฟแนนซ์
- หนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ค่าใช้จ่ายในการทำแผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่ แผ่นป้ายละ 100 บาท ค่าคำขอ 5 บาท และจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถภายใน 15 วัน โดยระหว่างนี้ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินแทนแผ่นป้ายชั่วคราวได้
5. ใบอนุญาตขับขี่หาย
นำเอกสาร ดังนี้ บัตรประชาชนพร้อมสำเนา ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และไปติดต่อเพื่อขอทำใบอนุญาตขับขี่ใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานย่อย โดยไม่ต้องสอบใบขับขี่รถใหม่ เพียงแค่ถ่ายรูปติดใบอนุญาตขับขี่ใหม่เท่านั้น หากเป็นใบขับขี่ตลอดชีพก็จะได้ใบขับขี่ตลอดชีพเช่นเดิม ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่ 255 บาท (250 บาท เป็นค่าออกบัตรของกรมขนส่ง ส่วนอีก 5 บาท เป็นค่าใบคำร้องของกรมขนส่ง)
6. บัตรประกันสังคม และบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาลหาย
ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย ณ สำนักงานประกันสังคมหรือติดต่อผ่านฝ่ายบุคคลของบริษัทตนเอง นอกจากนี้ยังดาวน์โหลดบัตรประกันสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ บนเว็บไซต์ sso.go.th ได้อีกด้วย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! พร้อมขั้นตอนการยื่นเรื่องทำใหม่
เอกสารหาย ไม่ต้องแจ้งความ! พร้อมขั้นตอนการยื่นเรื่องทำใหม่
7. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีหาย
ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้าน ไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เขตของท่าน
8. บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิตต่าง ๆ หาย
ให้รีบโทรอายัดบัตรทันที โดยโทรเข้า Call Center ของธนาคารเจ้าของบัตร เพื่อระงับการใช้งานของบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตใบนั้น ๆ แม้มีคนเจอบัตรของเราก็ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เงินในบัญชีของเราก็จะปลอดภัย และเมื่อเราแจ้งอายัดบัตรเดบิตไปแล้ว หมายเลข บัตรนั้นก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก ดังนั้น เราจึงต้องทำเรื่องขอเปิดบัตรเดบิตใบใหม่กับทางธนาคาร ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สมุดบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกของธนาคารที่ใช้บริการ
สำหรับค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ จะขึ้นอยู่กับประเภทของบัตร โดยแต่ละธนาคารจะมีค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 100 – 250 บาท สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ว่า บัตรประเภทที่เราอยากออกใหม่มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ก่อนตัดสินใจดำเนินการ
ทั้งนี้ หากทำสมุดบัญชีเงินฝากหาย ยังต้องแจ้งความก่อนทำเล่มใหม่นะคะ
9. พาสปอร์ตหาย
กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายภายในประเทศไทย และไม่มีอายุการใช้งานเหลืออยู่ (หมดอายุ) สามารถติดต่อเพื่อขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหายได้โดยไม่ต้องดำเนินการแจ้งความ
กรณีหนังสือเดินทางสูญหายและยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ ทั้งทำหายในประเทศและต่างประเทศ ให้ดำเนินการแจ้งความแล้วนำใบแจ้งความไปยื่นทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กรมการกงศุล หรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย
4 ข้อสำคัญ ต้องคำนึงก่อนพาลูกเล็กเดินทางไกล!
เปลี่ยนชื่อลูก ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.bangkok.go.th, กรมการขนส่งทางบก, https://auto.mthai.com, ธนาคารออมสิน, ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่