[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] "รังแก" ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ต้องฝึกลูกรับมือให้เป็น! - Amarin Baby & Kids
รังแกไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ต้องฝึกลูกรับมือให้เป็น

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] “รังแก” ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ต้องฝึกลูกรับมือให้เป็น!

Alternative Textaccount_circle
event
รังแกไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ต้องฝึกลูกรับมือให้เป็น
รังแกไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ต้องฝึกลูกรับมือให้เป็น

ปัญหาเด็กรังแกกันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

พ่อแม่ต้องฝึกทักษะลูกรับมือให้เป็น!

ปัญหาเรื่องการรังแกกันในโรงเรียนมักจะถูกผู้ใหญ่มองเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เรื่องเล็ก ๆ ในสายตาเราอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลร้ายกับจิตใจของเด็ก ๆ ได้มากกว่าที่เราคิดค่ะ

เด็กหลายคนไม่รู้วิธีรับมือเมื่อถูกเพื่อนรังแก เมื่อต้องไปโรงเรียนก็จะตึงเครียด หวาดกลัว ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม บางคนที่หมอเคยพบก็ถึงขั้นไม่อยากไปโรงเรียน หรือถึงขนาดไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ก็มีค่ะ

ดังนั้น หมอจึงอยากเชิญชวนให้คุณพ่อคุณแม่สอนทักษะในการรับมือการรังแกให้เด็ก ๆ ของเรากันนะคะ เพื่อให้เด็กทุกคนรู้ว่าปัญหาของเขาไม่ได้ถูกละเลย และมีคนพร้อมให้ความช่วยเหลือค่ะ

ทักษะที่ควรฝึกให้เด็กมี เพื่อรับมือและป้องกันปัญหานี้มีดังนี้ค่ะ

1. วิธีการแสดงออกเมื่อถูกรังแก

ข้อนี้เราสามารถช่วย ซักซ้อมวิธีรับมือ ได้โดยการแสดงบทบาทสมมติค่ะ

  • ฝึกให้เด็กบอกเพื่อนที่รังแกให้หยุดด้วยท่าทีสงบแต่จริงจัง

เช่น “หยุดนะ” “ไม่ชอบ” เพื่อบอกให้เพื่อนรู้ว่าเด็กไม่พอใจกับพฤติกรรมของเพื่อน แต่จะต้องทำด้วยท่าทีที่เคร่งขรึม ไม่โวยวายเสียงดัง เพื่อไม่ให้เพื่อนรู้สึกสนุกที่ได้แกล้งนะคะ

  • สอนให้เด็กเลี่ยงออกจากเหตุการณ์นั้นด้วยท่าทีสงบที่สุด

ไม่อยู่เฉยให้การรังแกดำเนินต่อไป ซึ่งเราอาจเตรียมกับเด็กให้ไปในที่ที่ปลอดภัยเช่น ห้องสมุด หรือห้องพักครู ค่ะ

  • สอนให้เด็กป้องกันตนเองได้บ้าง

เพื่อพาตัวเองออกจากสถานการณ์ แต่ไม่ตอบโต้ หรือใช้ความรุนแรงกลับ เพราะอาจทำให้การรังแกยิ่งรุนแรงมากขึ้นค่ะ

2. ฝึกทักษะในการพูดและขอความช่วยเหลือผู้ใหญ่

เพราะเด็กบางคนอาจไม่กล้าเข้าหาผู้ใหญ่ เราจึงควรซักซ้อมจุดนี้ด้วยค่ะ

3. ฝึกทักษะการผูกมิตรกับเพื่อน

ควรฝึกให้เด็กมองหาเพื่อนใหม่ๆ ทำกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างกลุ่มเพื่อนที่ดีต่อกันเพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันตนเองให้กับเด็กค่ะ

 

ในปัญหาการรังแกกันนี้ เบื้องต้นเราควรให้เด็กจัดการปัญหาของตนเองก่อน แต่ถ้าหากมองว่าปัญหามีความรุนแรงมาก ผู้ปกครองก็สามารถเข้าไปพูดคุย ขอความช่วยเหลือเพื่อให้ทางโรงเรียนติดตามปัญหานี้ได้ค่ะ

 

บทความโดย : พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ภาพจาก : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up