กิจกรรมเล่นกับลูก …เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสัมพันธ์ ความผูกพันที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกๆ ได้ แต่ก็มีบางเรื่องที่คุณพ่อมักเล่นกับลูกอย่างคึกคักสนุกสนาน ด้วยวิธีแผลงๆ แปลกใหม่ ไม่น่าเบื่อ เช่น ชอบยกลูกขึ้นสูง ๆ แล้วแกว่งไปแกว่งมา หรือ จับลูกห้อยหัวลง ได้ออกแรงได้หัวเราะกันอย่างสุด ๆ จนทำให้ลูกติดใจ เมื่อเจอพ่อทีไรก็มักอ้าแขนหรือโผเข้าใส่
และแม้ว่านี่คือช่วงเวลาอันแสนสนุกสำหรับเด็กๆ แต่หากคุณพ่อ เผลอเล่นสนุกจนลืม เรื่องความปลอดภัยไป การเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทำกับลูกน้อยนั้นอาจกลายเป็นห้วงเวลาที่นำความทุกข์ และความเศร้าตามมาให้ก็ได้เช่นกัน
กิจกรรมเล่นกับลูก 7 อย่างต้องห้าม เสี่ยงกระทบสมอง อันตรายถึงชีวิต
สำหรับคุณพ่อที่พยายามจะสร้างความผูกพันและความใกล้ชิดกับลูกให้มากขึ้น โดยการช่วยคุณแม่เลี้ยงหรือเล่นกับลูก แต่ด้วยความเป็นผู้ชาย คุณพ่อก็อาจเผลอ “บ้าพลัง” เล่นกับลูกจนเกินเหตุ ออกแรงมาเกินไป โดยหารู้ไม่ว่า นั่นอาจทำให้ลูกรักของคุณได้รับบาดเจ็บ หรือกระทั่งเสียชีวิตได้ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำสิ่งที่คุณพ่อจะต้อง “ไม่ทำ” หรือ “ห้ามเล่น” กับลูก ในกิจกรรมดังนี้
1. วิ่งไล่จับ ไปมาอย่างรวดเร็ว
ลูกอาจติดสไตล์การเล่นที่หนักไปทางบู๊ เร้าใจ ตื่นเต้น มาจากคุณพ่อ ไม่ว่าจะเป็น วิ่งไล่จับ กระโดดสูง ๆ หรือ หกคะเมนตีลังกา ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อดีก็คือเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ การเผลอเล่นสนุกจนยั้งไม่อยู่ เช่น วิ่งไล่ลูกอย่างเร็วจี๋ จนลูกลื่นล้ม ถลอกปอกเปิก ขาพลิก ข้อเคลื่อน หรือกระดูกหัก หากล้มหน้าคว่ำ ก็อาจฟันหัก เหงือกฉีก ปาก จมูกได้รับบาดเจ็บ หรือหากหัวฟาดพื้นก็เสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนถึงสมองได้
ทั้งนี้ในลักษณะการลื่นหกล้มหน้าคว่ำของเด็ก ๆ ยังอาจทำให้จมูกและปากได้รับการกระทบกระเทือนด้วย บางคนก็ถึงกับฟันหักหรือเหงือกฉีกขาด การบาดเจ็บในช่องปากพบได้บ่อยครับ หากฟันหักเหงือกฉีก ก็จะส่งผลต่อการกิน พลอยทำให้ขาดสารอาหารน้ำหนักลดไปอีกหลายวันทีเดียว ปัญหาการหกล้มหน้าคว่ำเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ยิ่งฟันคู่แรกของลูกโผล่พ้นเหงือก ยิ่งต้องใกล้ชิดและให้ลูกรักอยู่ในสายตา
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : ลูกฟันหลุดรักษาได้อย่าทิ้ง! (อาจต่อได้)
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : ดูแลแผลถลอกคุณหนู แบบ Easy Step
2. การเล่นปล่อยพลัง ต่อสู้ บู๊ล้างผลาญ
การเล่นแบบนี้ถือเป้นเรื่องปกติสำหรับคุณพ่อที่จะชวนลูกน้อยเล่นตามประสาของผู้ชาย หรือเด็กผู้หญิงบางคนก็อาจชอบด้วย ไม่ว่าจะเป้นเล่นต่อสู้ ฟันดาบ เตะต่อย หลายครั้งคุณพ่อก็ยอมแพ้ให้ลูกทั้งเตะทั้งต่อย ดู ๆ ไปก็ น่าสนุก แต่คุณพ่อและคุณแม่ก็ต้องคอยระวังเรื่องอุบัติเหตุ การกระทบกระทั่งรุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงการเล่นแบบนี้อาจทำให้ลูกคิดว่า เมื่อเขารู้สึกว่าเขาต้องชนะคนอื่นด้วยการต่อยตี ก็จะปลูกฝังพฤติกรรมที่ไม่ดีไปในใจของลูกได้อีกด้วย
อ่านต่อ >> “กิจกรรมอันตราย ห้ามทำห้ามเล่น กับลูกน้อย เสี่ยงกระทบสมอง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3. จับลูกห้อยหัว โยน สูง ๆ แล้วรับ
ลูกๆ มักชอบให้พ่อยกขึ้นสูง ๆ แล้วแกว่งไปแกว่งมา หรือจับห้อยหัวลงด้วยท่าพลิกแพลง แต่การเล่นแบบนี้ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง หรือหาวิธีเล่นกับลูกที่ตื่นเต้นและปลอดภัยกว่านี้ เพราะอาจพลัดตกลงมา ทำให้หัวกระทบของแข็งหรือกระแทกพื้นได้ เนื่องจากสมองของเด็กนั้นมีเซลล์ประสาทมากมายมหาศาล ซี่งรอการสร้างเส้นใยประสาทเพื่อการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย สำหรับใช้ในการรับส่งข้อมูลที่มีการพัฒนาอันซับซ้อน
การพลัดตกลงมาของลูก จึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากตกมาไม่สูงอาจหัวโนหัวปูด หรือหัวแตกเลือดอาบจนอาจต้องเย็บกันหลายเข็ม และที่ร้ายแรงก็คืการมีเลือดคั่งในสมอง ซึ่งถือเป็นเรื่อองที่อันตรายสุดๆ โดยอาจเกิดหลังการพลัดตกใหม่ๆ จะไม่มีบาดแผลอะไร เมื่อพ่อแม่ปล่อยเลยตามเลย และไม่ได้ลูกส่งไปตรวจรักษา ลูกอาจมีเลือดคั่งอยู่ในสมองก็เป็นได้ โดยอาการเลือดคั่งในสมอง ที่พอสังเกตได้ ก็คือ ซึมลง งอแง ยกแขนขาผิดปรกติ การทรงตัวไม่ดี อาเจียน ไม่ดูดนม หรือการนอนผิดปรกติ ส่วนเด็กโตอาจบอกได้ว่ามีอาการปวดหัว มึนงง เป็นต้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกเป็นแบบนี้ต้องพาไปหาหมอโดยด่วน
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : [Baby&Kids Easy Steps] ปฐมพยาบาลลูก หัวโน
ทั้งนี้หลังจากสมองได้รับการกระทบกระเทือน ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าเป็นน้อยก็จะให้กลับบ้านไปสังเกตอาการทางสมองสัก 24 ชั่วโมง โดยต้องมีคนที่สามารถสังเกตอาการได้อยู่ด้วย และให้คนไข้กลับมาโรงพยาบาลถ้ามีอาการแย่ลง อันได้แก่ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะมาก หมดสติ มีปัญหาการใช้สมองหรือความคล่องคล้องจองของตาและมือ
4. การอุ้มเขย่าหรือแกว่งลูกโดยใช้การเคลื่อนไหวอย่างแรง
มีคุณพ่อคุณแม่บางคนชอบไกวเปล หรือ อุ้มลูกแกว่งไปมา เพื่อให้ลูกเพลินแล้วหลับไป จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร หากคุณจะทำเพียงเพื่อให้ลูกสงบลงแล้วปล่อยให้ลูกหลับไปเอง แต่การไกวเปลหรือแกว่งตลอดเวลาแม้ขณะที่ลูกหลับไปแล้วย่อมไม่ส่งผลดีต่อลูกเลย เพราะขณะที่คุณแกว่งลูกไปมาอวัยวะภายในและสมองอันแสนบอบบางของลูกก็จะเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งรวมไปถึงการยกลูกตัวลอยแล้วเขย่า ๆ ไปมาอย่างรุนแรง
การกระทำเหล่านี้อาจเสี่ยงต่อการทำให้ลูกตาบอดและเกิดความพิการอื่น ๆ หรือ เสียชีวิตได้ เนื่องจากสมองของเด็กที่ได้รับการกระทบกระเทือน เนื่องจากศีรษะของเด็กจะโตและหนัก ซึ่งกล้ามเนื้อและกระดูกส่วนคอก็ยังไม่ค่อยแข็งแรง การโดนผู้ใหญ่อุ้มหรือเขย่า แกว่งไปมาอย่างรุนแรงจะมีผลให้เกิดอาการเลือดคั่งใต้เยื่อหุ้มสมอง บางครั้งอาจเกิดเลือดออกในเส้นประสาทตา ทำให้มีปัญหาต่อการมองเห็นได้ด้วย
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : อุ้มโยน เขย่า ดึงแขน อันตรายกับลูกมากกว่าที่คิด
อ่านต่อ >> “กิจกรรมอันตราย ห้ามทำห้ามเล่น กับลูกน้อย เสี่ยงกระทบสมอง” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5. ชวนลูกนอนดูโทรทัศน์
หากไม่ได้วิ่งเล่นสนุกสนานรุนแรง จากชวนลูกนอนดูโทรทัศน์เฉยๆ ก็เป็นการทำลายสมองลูกได้เช่นกัน จากงานวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบเด็กที่ดูโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมง กับเด็กที่ไม่ได้ดูเลย เมื่อผ่านไป 1 ปี พบว่า พัฒนาการเด็กที่ดูโทรทัศน์ต่ำกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูอย่างชัดเจน
และมีคำแนะนำว่า ถ้าจะให้ลูกดู ควรดูหลังอายุ 6 ขวบไปแล้ว เพราะโทรทัศน์มีทั้งภาพ และเสียงที่ไปกระตุ้นสมองกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น เพราะเด็กใช้ประสาทสัมผัสเพียง 2 ส่วน คือ ตากับหู จึงขัดแย้งในกระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กที่ต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 นั่นเอง ทำให้สมองส่วนอื่น ๆ ไม่ถูกใช้งาน ถือว่าเป็นการทำลายสมองเป็นอย่างมาก
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : 11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
6. จับลูกนั่งตักขณะขับรถ
คุณพ่อคุรแม่อาจคิดว่าลูกชอบนั่งหน้ารถ เพราะเมื่อลูกได้นั่งข้างหน้า ก็จะจ้องถนนตาแป๋ว ซึ่งแท้จริงแล้วการทำแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุชนกระแทกขึ้นมากะทันหัน ลูกน้อยของคุณก็มีโอกาสลอยพุ่งทะลุกระจกออกไปนอกรถได้ เนื่องจากไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัย หรือหากรถนั้นไม่มีถุงลมนิรภัย ลูกน้อยก็จะกลายเป็นถุงลมนิรภัยชั้นดีรับแรงกระแทรกแทนคุณพ่อคุณแม่ หรือหากรถนั้นมีถุงลมนิรภัย ก็ไม่พ้นอันตรายเพราะจะโดนถุงลมที่ระเบิดขึ้นมาอัดเข้าเต็มหน้าเต็มตัว
และเมื่อถุงนิรภัยมันระเบิดเพื่อให้ถุงพองออกในยามที่เกิดอุบัติเหตุ การจุดระเบิดของถุงลมต้องอยู่ห่างคนโดยสารหรือคนขับประมาณ 25 เซนติเมตร หากอยู่ใกล้กว่านั้นแรงพองตัวของมันจะมีผลอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้ได้ จึงควรใช้ที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) สำหรับเด็กในการนั่งรถจะดีกว่า
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : เด็กทารกจำเป็นต้องใช้คาร์ซีท จริงหรือ?
7. ลืมทิ้งลูกไว้ในอ่างอาบน้ำ หรือในรถยนต์
มีคุณแม่คุณพ่อหลายบ้านชอบอาบน้ำกับลูกเป็นประจำ แถมชอบชวนลูกเล่นโน่นนี่ จนเจ้าหนูหัวเราะเอิ๊กอ๊ากตีน้ำป๋อมแป๋มอย่างเบิกบาน นี่คือความประทับใจที่ทั้งพ่อและลูกจะยิ้มอย่างมีความสุขเสมอ ทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่มันอาจกลายเป็นความขมขื่นที่ฝังใจ
หากคุณพ่อคุณแม่เป็น ขี้ลืมอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น แว่บไปรับโทรศัพท์ หรือเดินไปรับแขกที่กำลังกดออดอยู่หน้าบ้าน โดยทิ้งลูกอยู่ในอ่างน้ำตามลำพัง ข้อที่จะพลาดไม่ได้ก็คือ หากจะต้องไปทำธุระอะไรก็ตามระหว่างอาบน้ำให้ลูกก็คือ จะต้องเช็ดตัวลูกให้แห้ง แล้วอุ้มเขาออกมาจากอ่างน้ำ และพาไปทำธุระนั้น ๆ ด้วย ห้ามปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้หากเด็กขาดอากาศหายใจ และช่วยไม่ทันภายใน 4 นาที ก็เสี่ยงอย่างยิ่งกับการเสียชีวิต ไม่ใช่เฉพาะกรณีจมน้ำเท่านั้น หลาย ๆ จุดในบ้านก็จะต้องไม่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างเด็ดขาด เช่น ใกล้บันได เตาไฟ กระติกน้ำร้อน กะละมัง ระเบียงห้อง หรือ หน้าต่าง เป็นต้น
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : อันตราย ในบ้าน 12 สิ่งสำหรับลูกวัยใกล้ 3 ขวบ
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : 10 อันตราย ช่วงปิดเทอม ที่พ่อแม่ต้องระวังลูก!
การสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันป้องกันปัญหาในครอบครัว และจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในที่สุด ซึ่งในเมื่อลูก ๆ โชคดีแล้วที่มีคุณพ่อและคุณแม่ที่แสนใจดี เล่นด้วยได้อย่างสนุกสนาน และจะประทับใจ นั้นก็เป็นความทรงจำที่แสนงดงามของทั้งพ่อแม่และลูกตลอดไป ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึง “ความปลอดภัยไว้ก่อน” ทุกครั้งที่เล่นกับลูกนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!