ปวินท์ เปี่ยมไทย ผู้บกพร่องทางสายตาคนแรกที่สอบติดวิศวะฯ จุฬาฯ
ปวินท์ เปี่ยมไทย

ปวินท์ เปี่ยมไทย เด็กไทยผู้บกพร่องทางสายตาคนแรกของประเทศไทยที่สอบติดคณะวิศวะฯ จุฬาฯ

Alternative Textaccount_circle
event
ปวินท์ เปี่ยมไทย
ปวินท์ เปี่ยมไทย

ปวินท์ เปี่ยมไทย เด็กไทยผู้พิการทางสายตาคนแรกที่สอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาดูกันว่าเบื้องหลังกว่าจะเป็นความสำเร็จครั้งนี้ น้องปวินท์ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

ผู้พิการทางสายตา ต้องเรียนมัธยมปลาย ร่วมกับเด็กสายตาปกติ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ schoolofchangermakers.com ในหัวข้อ “สู้สักตั้ง!! กว่าจะเป็นนิสิตวิศวะตาบอดคนแรกได้ ใจต้องสู้” เล่าว่าโอกาสของนักเรียนผู้บกพร่องทางสายตาเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว ก็จะต้องย้ายไปโรงเรียนปกติ แต่ละโรงเรียนจะเปิดโควตารับเด็กตาบอดไม่ถึง 10 คน และเด็กตาบอดก็จะถูกจับให้เรียนสายศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นศิลป์คำนวณ หรือศิลป์ภาษา โอกาสที่จะได้เรียนสายวิทย์นั้นแทบไม่มีเลย แต่โชคดีที่สมัยของน้องปวินท์เปิดรับให้เรียนสายวิทย์ได้

ผู้พิการทางสายตา
ผู้พิการทางสายตา ต้องเรียนมัธยมปลาย ร่วมกับเด็กสายตาปกติ

แต่อุปสรรคก็ยังมีต่อ เนื่องจากการเรียนสายวิทย์จะต้องใช้เทคนิคทางห้องปฏิบัติการ เวลาทำแล็บจำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ก็มีจำกัดอยู่แล้ว แถมยังไม่มีอุปกรณ์ใดที่ทำไว้เป็นอักษรเบรลล์เพื่อช่วยคนตาบอดอีก ไม่มีเทอร์มอมิเตอร์ที่ออกเสียงได้ ในวิชาเคมีน้องปวินท์จึงทำได้แค่นั่งสังเกตการณ์เฉยๆ หนังสือวิชาเคมีภาษาไทยที่เนอักษรเบรลล์ก็ไม่มีให้อ่าน เพราะมีสัญลักษณ์สูตรและกราฟมากมาย

ผู้พิการทางสายตาในประเทศไทย

ดาวน์โหลดหนังสือเสียงภาษาอังกฤษมาอ่าน

น้องปวินท์จึงใช้วิธีดาวน์โหลดหนังสือเสียงวิชาเคมีจากต่างประเทศมาฟัง ซึ่งช่วยให้น้องเข้าใจเนื้อหาในวิชาเรียนได้ทันเพื่อน (ว้าว! วิธีนี้ดีจริงๆ นอกจากจะได้เนื้อหาวิชาเคมีแล้วยังได้ภาษาอังกฤษเพิ่มอีกด้วย)

ไม่เพียงเท่านี้ วิชาที่เป็นกราฟ น้องปวินท์ก็ต้องใช้เครื่องคิดเลขมีเสียงมาเป็นตัวช่วย เป็นเครื่องคิดเลขพิเศษที่พูดทุกอย่าง หน้าจอมีเสียง ปุ่มมีเสียง แปลงรูปกราฟเป็นเสียงได้ แต่ถ้าอาจารย์ให้วาดกราฟส่ง น้องปวินท์ก็ใช้แผ่นมุ้วงลวด ขนาดเท่ากระดาษเอสี่ เพื่อมาทาบบนกระดาษแล้วก็ใช้มือขวาจับดินสอวาดกราฟ มือสายก็ค่อยๆ คลำตามเส้นรอยนูนบนกระด์ที่เกิดจากแรงกดของดินสอ ซึ่งน้องปวินท์จะได้คะแนนเต็มในวิชาคณิตศาสตร์ตลอด

อ่านหนังสือให้คนตาบอด
น้องปวินท์ใช้วิธีดาวน์โหลดหนังสือเสียงวิชาเคมีจากต่างประเทศมาฟัง

ปวินท์ เปี่ยมไทย ช้างเผือกไม่ได้อยู่ในป่า

ก่อนหน้านี้น้องปวินท์สอบติดสัมภาษณ์โครงการช้างเผือกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนมาแล้วแต่ติดปัญหาเดินทางลำบากจึงต้องสละสิทธิ์ และยังติดสัมภาษณ์คณะสารสนเทศภาค CS ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี มาแล้ว และสอบวัดความรู้ทางฟิสิกส์โครงการ SAT (Subject Test)ของสหรัฐอเมริกาได้คะแนนเต็ม ในปีนี้ก็สอบได้คะแนน GAT 285 PAT3 190 โอ้โห! อย่างนี้ไม่ธรรมดาเลย

ออกแบบห้องเรียนให้คนตาบอด

ต้องบอกว่าอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใจดีมาก และไม่หยุดค้นคว้าเพื่อผู้บกพร่องทางสายตา เพราะกำลังช่วยกันออกแบบห้องเรียนสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยให้น้องปวินท์ เป็น Live Case Study ของวิชา Assitive Technology เพื่อให้นิสิตคณะวิศวะและน้องปวินท์ได้ระดมความคิดช่วยกันออกแบวิชาเรียน ห้องเรียน ห้องสมุด และสภาพแวดล้อมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนตาบอด เพื่อในอนาคตเราอาจจะได้พัฒนาห้องเรียนนี้ให้กับคนทั่วโลกได้ใช้ด้วย

ผู้พิการทางสายตาในประเทศไทย
ออกแบบห้องเรียนให้คนตาบอด

ฟังอย่างนี้แล้ว ไม่ยากเลยที่เราจะพัฒนาศักยภาพเด็กไทย ให้ไปไกลในด้านการศึกษา และเรียนรู้ เพราะร่างกายไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน หากเราไม่เข้าใจตำรา หรือขี้เกียจอ่านหนังสือ ก็ใช้หนังสือเสียงเป็นตัวช่วยได้ ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่ช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาอีกมากมาย ดูความเก่งและการแก้ไขปัญหาของน้องปวินท์มาเป็นตัวอย่าง เด็กเก่งอย่างนี้เราต้องสนับสนุนกันค่ะ^^

ที่มาจาก : www.schoolofchangmakers.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up