หย่านมแม่ เทคนิคช่วยลูกหย่านม : หย่านมแม่ เมื่อไหร่? ยังไงดี?
หย่านมแม่

หย่านมแม่ เมื่อไหร่? ยังไงดี?

คุณแม่หลายคน เข้าใจว่า หย่านมแม่ แล้วจะทำให้ลูกน้อยต้องการพึ่งพาคุณแม่น้อยลง ตื่นกินนมเวลากลางคืนลดลง แต่จริงๆ แล้วการหย่านม จะทำให้ลูกน้อยหงุดหงิด และต้องการความสนใจมากกว่าปกติ คุณแม่ควรวางแผนการหย่านม ตามอายุ พัฒนาการ และความพร้อมตามธรรมชาติ

หย่านมแม่

รศ.กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ ได้ให้ความรู้ไว้ว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการหย่านมของคุณแม่ และลูกน้อย จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่ควรตกลงตัดสินใจกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้หย่านมได้ราบรื่นขึ้น ไม่ควรหย่านมเพราะความเข้าใจผิด เช่น

banner300x250

  • คิดว่าการหย่านมจะทำให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น สบายขึ้น เพราะแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการให้นม และคิดว่าการให้นมผสม หรือการหย่านมจะช่วยแก้ปัญหาจากความเหน็ดเหนื่อยนี้
  • คิดว่าต้องหย่านม เมื่อมีปัญหาเต้านมอักเสบ การหยุดให้นมแม่ในช่วงนี้ จะทำให้เต้านมคัดตึง และเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ควรให้ลูกดูดนมแม่ต่อไป เพราะน้ำนมแม่ที่มีปัญหาเต้านมอักเสบ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูกน้อย
  • คิดว่าต้องรีบหย่านม เพราะต้องทำงาน หรือลูกน้อยชอบกัดหัวนมแม่ ทำให้รู้สึกเจ็บ รู้สึกไม่สุขสบาย จึงไม่อยากให้ลูกดูดนม
  • คิดว่าถ้าคุณแม่ หรือลูกน้อยป่วย หรืออาจจะต้องนอนโรงพยาบาล จึงให้ลูกน้อยหย่านม คุณแม่ไม่ควรหย่านมลูกขณะที่ลูกป่วย เพราะจะทำให้เด็กเกิดภาวะเครียด ถ้าคุณแม่ป่วยก็ควรให้นมแม่ต่อไป ถ้าคุณแม่ไม่ได้รับยาที่มีผลข้างเคียงต่อการให้น้ำนมลูกน้อย
ให้ลูกเลิกเต้า
หย่านมแม่ ให้ลูกเลิกเต้า

อ่านต่อ “รูปแบบของการหย่านม” คลิกหน้า 2