ลูกโดนน้ำร้อนลวก

ตะลึง! ลูกโดนน้ำร้อนลวก แต่แม่กลับรักษาด้วยวิธีนี้!

ลูกโดนน้ำร้อนลวก
iStock

 

จากกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เรารู้ได้ทันทีเลยว่า ยังมีใครอีกหลายคนที่ยังคงปักใจเชื่อกับวิธีการปฐมพยาบาลฉุกเฉินด้วยการเอาน้ำปลาราด หรือเอายาสีฟันทาไปที่แผลเพื่อกันอาการปวดแสบปวดร้อนนั้น เป็นความเชื่อตามความเชื่อในสมัยโบราณ ที่ถือว่าผิดมหันต์เลยละค่ะ อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังส่งผลให้แผลอาจติดเชื้อได้โดยง่ายอีกด้วย

แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

1. แผลในระดับแรก เป็นการโดนไหม้ หรือลวกในระดับแค่เล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการทำลายแค่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเท่านั้น บาดแผลจะไม่มีตุ่มพองใส แต่จะแค่ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงกว่าปกติ มีความรู้สึกว่าปวดแสบและร้อนไม่มากนัก จะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหายปวด โดยทั่วไปแผลระดับแรกนี้จะหายไปในระยะเวลา 7 วัน
วิธีการรักษา เพียงแค่คุณแม่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติไหลผ่านแผล แล้วจึงใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบไว้สักครู่หนึ่ง อาการปวดก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าใครมีคูลฟีเวอร์หรือแปะหน้าผากลดไข้เด็กละก็ สามารถนำมาแปะที่แผลไว้ พออาการปวดดีขึ้นก็ให้ทายารักษาอาการ
2. แผลในระดับที่สอง คือแผลที่โดนลึกถึงขั้นกินบริเวณกว้างกว่าแผลในระดับแรก เข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้า แล้วลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังหลงเหลือเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตมาทดแทนชั้นหนังที่ตายแล้วได้อยู่ แผลนั้นจะมี 2 แบบ คือ
  • แบบเป็นตุ่มพองมีน้ำใส ๆ ข้างใน พอแกะน้ำออกมาผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพู และมีน้ำเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย แผลระดับนี้จะเริ่มมีอาการปวดแสบมากขึ้น เพราะเส้นประสาทถูกทำลายไปด้วย แต่ไม่เยอะมากนักและแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์
  • แบบที่แผลที่ไม่มีตุ่มพอง แผลจะแห้ง มีสีเหลืองขาวและไม่ค่อยปวด แต่จะทำให้เกิดแผลเป็นได้
วิธีการรักษา แผลระดับนี้ ยังคงใช้วิธีการรักษาเบื้องต้น แบบแผลระดับแรก เพียงอาจจะต้องมีการสะกิดตุ่มหนองในแผลแบบที่ 1 ออก แล้วจึงทายาเพื่อรักษาอาการต่อไป และต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแผลแบบที่ 2 เพื่อลดการติดเชื้อ
3. แผลในระดับที่สาม เป็นแผลที่ลึกลงไปทำลายหนังกำพร้า หนังแท้ รูขุมขน ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทจนหมด ซึ่งแผลระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะอาจกินลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แต่จะไม่มีอาการปวดจากแผล เพราะเซลล์ประสาทโดนทำลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่รับรู้ถึงอาการปวด ลักษณะของแผลจะมีสีซีดออกเหลือง หรืออาจจะมีสีไหม้ออกดำ จะแข็งด้าน ในบางรายอาจมองเห็นได้ถึงเส้นเลือด แผลชนิดนี้จะมีอาการผิวหนังตึง และขยับร่างกายลำบาก เมื่อหายแล้วก็จะเป็นแผลเป็น หรือในบางรายอาจกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาแทนก็ได้
วิธีการรักษา แผลชนิดนี้เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาอาการเองได้ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น และมีเพียงแค่การปลูกถ่ายผิวหนังใหม่เท่านั้น ที่เป็นวิธีการรักษา แผลระดับสามนี้ต้องดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าแผลระดับอื่น

อ่านวิธีรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก