
คุณอาจจะเคยสงสัยว่า นิ้วมือน้อยๆ ของลูกนั้นแข็งแรงแค่ไหน หรือทำงานได้อย่างไร
อยาก ตัดเล็บลูก แต่ไม่รู้จะตัดวันไหน แล้ววิธีการตัดต้องทำอย่างไร อยากรู้ไปหาคำตอบกันค่ะ!
นิทานสำหรับเด็กเล็กนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็กเป็นสำคัญ เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป สำหรับเทคนิคการเล่านิทาน เพื่อให้ลูกน้อยได้เพลิดเพลินและมีความสุข คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยาก มาเริ่มกันเลยค่ะ… 1. คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้โดยการอ่านชื่อเรื่อง อ่านชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้วาดบนหน้าปกของหนังสืออย่างชัดคำ เพื่อฝึกให้เด็กเกิดความเคยชิน 2. เวลาอ่านควรถือหนังสือให้มั่นคง แต่สามารถเคลื่อนไหวหนังสือได้อย่างอิสระ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้ดูภาพเต็มตา 3. เวลาอ่านควรอ่านอย่างมีจังหวะ ออกเสียง ตามอารมณ์ของถ้อยคำ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดเสียง การดัดเสียงทำให้เด็กสนุกก็จริง แต่จะทำให้เด็กจดจ่ออยู่ที่ปาก โดยไม่สนใจตัวหนังสือหรือภาพในหนังสือ ทำให้เด็กขาดโอกาสในการอ่านภาพ หรือทำความคุ้นเคยกับตัวอักษรได้ 4. การจับหรือการถือหนังสือ คุณพ่อคุณแม่สามารถจับ หรือถือได้ตามความถนัด มือหรือนิ้วจะต้องบังภาพให้น้อยที่สุด เพราะภาพทุกภาพในหนังสือล้วนมีความหมาย เด็กๆ ควรได้เห็นภาพทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในหน้าหนังสือ 5. การเคลื่อนไหวหนังสือได้อย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งทำให้เด็กๆ สนุก คุณพ่อคุณแม่สามารถขยับหนังสือโยกไปมาเบาๆ ให้ดูสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เช่น เหมือนกับเรือกำลังลอยในทะเล หรือเปิด-ปิดหน้าหนังสือ แทนการเปิด-ปิดประตูตามเนื้อเรื่องที่อ่าน ก็สามารถชักชวนให้เด็กๆ สนุกได้มากขึ้นค่ะ และถ้าหากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4775
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]