
สร้าง “ภูมิคุ้มกันทางใจ” ให้ลูก ไม่เป็นทั้ง “ผู้ทำร้าย” และ “เหยื่อ”
6. แสดงให้ลูกเข้าใจว่า เป็นไปได้ที่ลูกจะรู้สึก (ไม่ดี) แบบนี้
แต่ขณะเดียวกันก็หยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ตี ดิ้น หรือแย่ง อาจจับมือเขาไว้แล้วบอกด้วยน้ำเสียงนิ่งๆ ว่า ตีไม่ได้ แล้วช่วยลูกคิดหาวิธีที่จะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น
7. ฝึกน้ำเสียงทรงอำนาจ
และนำมาใช้ในเวลาที่จำเป็นจริงๆ เพื่อสื่อให้ลูกรู้ว่า ตอนนี้เป็นช่วงจริงจัง ซึ่งน้ำเสียงนี้มักมีโทนเสียงต่ำ การพูดราบเรียบ สั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ รวมถึงสีหน้าเรียบเฉยขณะพูด
8. พูดสื่อให้ลูกรู้ว่าเราต้องการให้เขาควบคุมตนเองให้ได้
ขณะที่ลูกอาละวาดโวยวาย พ่อแม่ควรบอกเขาว่า “คุมตัวเองลูก” แทนการพร่ำบ่นต่อว่า หรือถามว่าลูกทำแบบนี้ทำไม และเมื่อฝึกเขาไปได้สักพัก ก็อาจถามเขาว่า หนูจะคุมตัวเอง หรืออยากให้พ่อแม่ช่วย

9. ฝึกลูกให้รับผิดชอบตนเอง รับผิดชอบผลของการกระทำของตนเอง
เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองตั้งแต่ยังเล็ก หากผู้ใหญ่ให้โอกาสและฝึกฝน และไม่คอยปกป้องเขามากจนเกินควร
10. ปรับเปลี่ยนกฎกติกาเมื่อลูกเติบใหญ่ขึ้น
แต่คงไว้ซึ่งแนวคิดว่า หน้าที่ต้องมาก่อน เช่น หนูจะเล่นได้ต้องทำงานบ้าน หรือการบ้านให้เสร็จก่อน และอิสรภาพมาพร้อมความรับผิดชอบ เช่น ถ้าหนูอยากให้แม่อนุญาตให้ไปเล่นที่บ้านเพื่อน หนูต้องแสดงให้เห็นว่าหนูรับผิดชอบที่จะโทรมาหาในเวลาที่กำหนด
เด็กที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัย แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เป็นเด็กที่คุณพ่อคุณแม่มอบของขวัญที่ล้ำค่าให้ลูก เพราะจะเป็นภูมิคุ้มกันทางใจที่จะช่วยนำพาให้ลูกผ่านพ้นความท้าทาย อันตราย อุปสรรคต่างๆ และความไม่แน่นอนของชีวิตค่ะ
♦ การอบรมและจัดการพฤติกรรมเด็ก
เป็นการสอนผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก บางครั้งสามารถสอนผ่านการเล่านิทาน ฝึกรับมือกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับลูก และปลูกฝังให้ลูกควบคุมตนเอง สอนให้ลูกรู้ว่า “อะไรควร อะไรไม่ควรทำ” ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคุณพ่อคุณแม่ที่มากกว่าแค่กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู
♦ การปลูกฝังวินัยและทักษะสังคม
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน และควรได้รับการปลูกฝังวินัยตั้งแต่ทารก และค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นวินัยในตนเอง
บทความโดย: พญ. นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
ภาพ: Shutterstock