

การอ่านนิทาน เริ่มได้เร็วที่สุดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ทารกในครรภ์สามารถได้ยินเสียงภายนอกได้บ้างแล้ว การอ่านนิทานหรือการพูดคุยกับทารกก็จะเป็นวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกรักได้ เมื่อเด็กคลอดออกมา ในช่วงแรกเด็กๆอาจยังต้องปรับตัวกับภายนอก แต่สักประมาณ 6 เดือน เมื่อเด็กเริ่มนั่งได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มอ่านนิทานหรือหนังสือที่มีรูปภาพชัดเจน เรื่องสั้นๆ ให้เด็กได้ลองจับสัมผัสพื้นผิวต่างๆในหนังสือ ลองอ่านอย่างสม่ำเสมอและคุณพ่อคุณแม่ก็ควรอ่านเป็นตัวอย่าง ให้เด็กเคยชินและรักการอ่านต่อไป
ฮุยเลฮุย เอ้า ฮุยเลฮุย ฮึบ… คำสั้นๆ ที่มีอยู่แทบทุกหน้าในเรื่อง หัวผักกาดยักษ์ ทำให้เด็กๆ จำได้ง่ายและสนุกที่จะทำท่าทางตาม นิทานภาพเรื่องหัวผักกาดยักษ์ ของ อเล็กเซ ตอลสตอย เป็นนิทานคลาสสิกที่อยู่คู่แพรวเพื่อนเด็กมาอย่างยาวนาน ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนานและภาพที่เข้าใจง่าย ทำให้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อแม่จะเลือกซื้อให้ลูกอ่านอยู่เสมอ แต่รู้มั้ยคะว่าเนื้อเรื่องที่เรียบง่ายแบบนั้นแฝงเรื่องที่สำคัญไว้นั่นคือ “ความสามัคคี” อาจจะเป็นเรื่องที่ดูยากเมื่อต้องสอนเรื่องความสามัคคีให้ลูก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยกนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาอ่านให้ลูกๆ ฟัง เด็กจะเข้าใจเรื่องที่ต้องการบอกได้ผ่านคอนเซ็ปต์ง่ายๆ ของเนื้อเรื่องที่เล่าอย่างเรียบง่ายว่า คุณตาเจอหัวผักกาดยักษ์ แต่คุณตาดึงคนเดียวไม่ไหว ต้องให้คุณยายมาช่วย หลานมาช่วย หมามาช่วย และให้แมวกับหนูมาช่วย เมื่อทุกคนออกแรงช่วยกัน ก็สามารถดึงหัวผักกาดขนาดยักษ์ออกมาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของ “ความสามัคคี” แม้เด็กเล็กจะยังไม่รู้จักคำนี้ แต่ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า “ถ้าพวกเราร่วมมือช่วยกัน จะทำทุกอย่างสำเร็จได้แน่นอน” หัวผักกาดยักษ์ เรื่อง อเล็กเซ ตอลสตอย ภาพ ชูเรียว ซาโต้ เรื่องภาษาไทย พรอนงค์ นิยมค้า
โทโมโกะ โอมุระ : เรื่องและภาพ พี่นะโม : แปล ราคา 250 บาท /ปกแข็ง 36 หน้า /ขนาดเล่ม 22.5*22.5 ซม. 2 ขวบ ++ “ต่อแถวอะไรกันนะ” ชวนนับเลขสนุก ได้รู้จักสัตว์ถึง 50 ชนิด การเรียงลำดับขนาด สิ่งสำคัญคือเรื่องของระเบียบวินัย และการรอคอย มาลุ้นกันว่าสัตว์ทุกตัวกำลังจำทำอะไร แล้วคุณวาฬตัวใหญ่ที่ซ่อนอยู่ในเล่มจะทำให้เด็กๆตื่นเต้นแค่ไหน อัดแน่นมาก ต้องไปต่อแถวซื้อแล้วล่ะ
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4775
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]