icsi คือ มีลูกยาก เฮ

icsi คือ เทคโนโลยีทันสมัยช่วยให้มีบุตร คนมีลูกยากเฮ!

ข้อดีของการทำ ICSI

  • ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะได้เป็นคุณแม่ โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 35 ปีขึ้นไป และเป็นกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก
  • สำหรับคู่สมรสที่อายุน้อยและไม่พร้อมที่จะมีลูกในทันที สามารถกระตุ้นไข่ และเก็บฝากตัวอ่อนไว้ก่อนได้ เมื่อไหร่พร้อมสามารถนำตัวอ่อนออกมาละลายใส่กลับเข้าโพรงมดลูกได้วิธีนี้สามารถแช่แข็งไว้ได้เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
  • ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก อายุเฉลี่ยที่ 35 ปีขึ้นไป
  • ในกรณีที่ทำ ICSI และมีการผสมกันแล้วได้ตัวอ่อนหลายตัว มีตัวอ่อนเหลือสามารถเก็บไว้ทำครั้งต่อไปได้ โดยไม่ต้องกลับมาเริ่มขั้นตอนกระตุ้นไข่เก็บไข่ใหม่ หากคนไข้พร้อมมีลูกคนต่อไปเมื่อไหร่สามารถกลับมาทำได้เรื่อย ๆ

ICSI มีความเสี่ยงหรือไม่?

ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่า อัตราการเกิดข้อบกพร่องในเด็กที่เกิดจากกระบวนการ ICSI นั้นแตกต่างจากประชากรทั่วไป อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่เด็กผู้ชายที่เกิดจากกระบวนการ ICSI จะมีปัญหาการเจริญพันธุ์ของผู้ชายด้วย

icsi คือ อะไร ความหวังของคนมีลูกยาก
icsi คือ อะไร ความหวังของคนมีลูกยาก

ICSI เลือกเพศได้ไหม?

ไม่สามารถเลือกเพศได้ แต่การทำ ICSI ร่วมกับทำ PGD จะสามารถรู้เพศของตัวอ่อนก่อนย้ายไปฝังในโพรงมดลูกได้ โดยมีความแม่นยำ 99.99%

ข้อควรปฏิบัติก่อนการเจาะเก็บไข่

  1. ทำจิตใจให้สบาย หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลและความเครียด หากิจกรรมอะไรที่ทำให้ลดความกังวลลงได้
  2. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก หรือมีการกระเทือนร่างกายมาก เช่น วิ่ง กระโดด เนื่องจากรังไข่ที่ได้รับการกระตุ้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อมีการ กระเทือนมากอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือมีการบิดหมุนของรังไข่ได้
  3. งดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนการเจาะเก็บไข่
  4. หากมีโรคประจำตัวแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  5. ต้องมีสามีหรือญาติมารับกลับบ้าน ไม่แนะนำให้ขับรถกลับเองหรือกลับรถสาธารณะตามลำพัง เพราะการเจาะเก็บไข่จะมีการดมยาให้ผู้ป่วยหลับ อาจจะทำให้ยังง่วงและยังสะลืมสะลือหลังการทำหัตถการ ทำให้มีอันตรายจากการขับรถได้
  6. เก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน เช่น แหวน สร้อย นาฬิกา ฯลฯ
  7. ไม่ควรทาสีเล็บหรือใส่น้ำหอม เพราะจะเป็นการรบกวนไข่หรือตัวอ่อน เนื่องจากตัวอ่อนบอบบาง ไม่ชอบสีหรือกลิ่น
  8. สามีควรเตรียมตัวมาเก็บน้ำเชื้ออสุจิในวันเดียวกัน โดยงดมีเพศสัมพันธ์ 3 – 7 วันก่อนเก็บน้ำเชื้อ
มีลูกยาก แค่ไหนก็เป็นจริงได้
มีลูกยาก แค่ไหนก็เป็นจริงได้

การปฏิบัติตัวหลังเจาะเก็บไข่

  1. หลังการเจาะเก็บไข่จะมีอาการปวดท้องเล็กน้อยเหมือนปวดประจำเดือน และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยหรืออาจมีเลือดออกภายใน 24 ชั่วโมง แนะนำให้สังเกตอาการ และรับประทานยาแก้ปวดทุก 4 – 6 ชั่วโมงตามที่แพทย์สั่ง อาการปวดท้องจะหายไปใน 2 – 3 วัน ส่วนในรายที่มีจำนวนไข่มากควรพักผ่อนและมีกิจกรรมให้น้อยที่สุดในช่วง 2 – 3 วันหลังเก็บไข่ เพื่อรอให้ขนาดรังไข่ยุบลงพอสมควรจะทำให้ลดอาการปวดท้องน้อยหลังเก็บไข่ได้ดี
  2. กรณีที่มีสิ่งผิดปกติอื่น ๆ หลังการเจาะเก็บไข่ โปรดปรึกษาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเพื่อขอคำแนะนำหรือแพทย์เจ้าของไข้ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากแพทย์เจ้าของไข้จะทราบประวัติและรายละเอียดการรักษา ทำให้สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
  3. กรณีที่มีปัญหาในการใช้ยาหรือแพ้ยา ควรติดต่อขอคำแนะนำจากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากหรือแพทย์เจ้าของไข้
  4. ในวันถัดไปหลังการเก็บไข่ เจ้าหน้าที่ของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจะเป็นผู้ติดต่อแจ้งให้ท่านทราบโดยละเอียด หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของการปฏิสนธิของตัวอ่อนสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก
  5. ให้เบอร์โทรศัพท์ที่สะดวกในการติดต่อกลับ หากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในการรักษา ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจะติดต่อกลับทันที
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก นพ.สันธา ศรีสุภาพ หัวหน้าหน่วยผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลราชวิถี
/www.sikarin.com/www.thonburibamrungmuang.com /www.bangkokhospital.com/

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่วางแผนได้ มีลูกเมื่อพร้อม เทคโนโลยีตอบโจทย์ เพิ่มโอกาสการมีลูกให้สำเร็จได้ ครอบคลุมทุกขั้นตอนการรักษา พร้อมออกแบบแผนการรักษาเฉพาะแต่ละครอบครัว ที่ “Superior A.R.T.”

นับวันไข่ตก ช่วยเรื่องอะไร? ต้องนับยังไง! เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสท้อง

สีประจำเดือน บอกสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย

ล้วงลึกชีวิต!! “ครูก้อย” ภรรยาคนเก่งของ “เจมส์ เรืองศักดิ์” จากอาชีพครูสายวิทย์ฯ สู่ที่ปรึกษาผู้มีบุตรยาก”

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่